วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
การปฏิบัติเมื่อผู้ป่วยเกิดอาการแพ้ยา
การปฏิบัติเมื่อผู้ป่วยเกิดอาการแพ้ยา
นโยบาย
ฝ่ายการพยาบลสนับสนุนให้พยาบาลวิชาชีพในฝ่ายการพยาบลสามารถประเมินอาการแพ้ยาที่อาจเกิดกับผู้ป่วย การป้องกันได้ถูกต้องและไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน
วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้พยาบาลวิชาชีพสามารถประเมินอาการของผู้ป่วยกรณีที่มีการแพ้ยาได้
2.เพื่อให้พยาบาลวิชาชีพสามารถปฏิบัติต่อผู้ป่วยที่มีการแพ้ยาได้ถุกต้องและไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน
ผู้รับผิดชอบ
พยาบาลวิชาชีพผู้ดูแลผู้ป่วยหรือพยาบาลผู้ให้ยาหรือพยาบาลวิชาชีพที่อยู่ในเหตุการณ์
วิธีปฏิบัติ
กรณีผู้ป่วยมีประวัติแพ้ยา ให้พยาบาลสวม Trigger wrist band สีชมพูให้ผู้ป่วย สำหรับผู้ป่วยที่มีประวัติแพ้ยา (ให้ใส่ที่แขนขวา )
1. ประเมินอาการผู้ป่วยว่าเกิดจากการแพ้ยาหรือไม่ ซึ่งแบ่งการแพ้ยาได้ 2 ชนิด ดังนี้
1.1 การแพ้ที่เกิดขึ้นทันทีทันใด
- Anaphylaxis ทำให้หลอดลมตีบบวม ( หายใจไม่ได้ ) , เส้นเลือดขยายตัวมาก ,BP drop, หมดสติ, ตาย
- อาการแพ้อื่นๆ เช่นผื่นคัน และบวม , ไข้ (Fever sickness ), หอบหืด, คัดจมูก
1.2 อาการแพ้ยาชนิดทิ้งช่วงภายหลังได้รับยา 24-48 ชั่วโมง
- อาการทางผิวหนัง: ผื่นแดง อักเสบ
- เม็ดเลือดขาวลดลง
- เลือดจาง
- อื่นๆ เวียนศีรษะ ง่วงนอน คลื่นไส้ อาเจียน
2. หยุดยาทันทีและช่วยเหลือให้การพยาบาลผู้ป่วยเบื้องต้นตามอาการ เช่น ช่วยหายใจ ช่วยบรรเทาอาการผื่นคัน ลดไข้
3. แจ้งอาการหรืออาการแสดงที่ผิดปกติของผู้ป่วยหลังการให้ยา ให้แพทย์ผู้รักษาทราบทันที
4. ให้การรักษาพยาบาลตามแผนการรักษาของแพทย์
5. บันทึกเหตุการณ์โดยละเอียด พร้อมการรักษาการพยาบาลที่ให้แก่ผู้ป่วยในบันทึกการพยาบาล
6. บันทึกประวัติการแพ้ยาของผู้ป่วยหลังแพทย์ลงความเห็นว่าเป็นยาที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการแพ้
7. รายงายอาการไม่พึงประสงค์จากการให้ยาโดยใช้แบบฟอร์ม ADR ส่งไปแผนกเภสัชกรรม และแผนกเภสัชกรรมจะเยี่ยมผู้ป่วยภายใน 24 ชั่วโมง
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น