วันศุกร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
แผนรองรับการป้องกันการระบาดจากโรคติดต่อ
เพื่อติดตามเฝ้าระวัง ค้นหาการเกิดโรคและภัยสุภาพที่ผิดปกติ อย่างมีประสิทธิภาพ และดำเนินการสอบสวนควบคุมโรคไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดในโรงพยาบาล
2. ขอบเขต
แผนรองรับกรณีโรคระบาดครอบคลุมหน่วยงานที่ให้บริการผู้ป่วย ลูกค้า เจ้าหน้าที่ และผู้รับมาบริการโรงพยาบาลและใช้ในการควบคุม ป้องกัน โรคติดต่อที่อาจเกิดขึ้นในโรงพยาบาล
3. คำจำกัดความ
โรคติดต่อ คือ โรคที่สามารถถ่ายทอด ติดต่อถึงกันได้ระหว่างบุคคลโดยมีเชื้อ จุลินทรีย์ต่าง ๆเป็นสาเหตุ
จุลินทรีย์หรือจุลชีพ คือ สิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ที่เราไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ที่มีกำลังขยายเป็นพันเท่าหรือหมื่นเท่าจึงจะมองเห็นได้ ในบรรยากาศที่ล้อมรอบตัวเรา ในดิน ในน้ำ ในอาหาร บนผิวกาย หรือในร่างกายของเรา จะสามารถตรวจพบจุลินทรีย์ต่างๆ ได้มากมายหลายชนิดทางติดต่อของเชื้อโรค ได้แก่
1. ทางการหายใจหรือสูดดม ผู้ป่วยจะปล่อยเชื้อโรคออกมากับน้ำมูก น้ำลาย เสมหะ โดยการไอหรือจามเกิดเป็นละอองฝอยกระจายอยู่ในอากาศถ่ายทอดให้ผู้อื่นโดยการสูดดมละอองเชื้อโรคเข้าไป ทำให้ติดเชื้อ ป่วยเป็นโรค เช่น วัณโรค ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ไข้คอตีบ ไอกรน และหัด เป็นต้น
2. ทางการกินโดยการกินอาหารหรือน้ำดื่มที่มีเชื้อโรคปนเปื้อนเชื้อโรคจะเข้าไปเพิ่มจำนวนในลำไส้ออกมากับอุจจาระแล้วปนเปื้อนกับอาหารหรือเครื่องดื่ม ติดต่อสู่ผู้อื่นต่อไปตัวอย่างเช่นอหิวาตกโรค บิด ไข้ไทฟอยด์หรือไข้รากสาดน้อย โปลิโอ ตับอักเสบ พยาธิใบไม้ในตับ พยาธิตืดหมู พยาธิตืดวัว พยาธิใบไม้ในปอด และพยาธิตัวจี๊ด เป็นต้น
3. ทางผิวหนัง ทางบาดแผล รอยถลอกหรือฉีดยาโดยทั่วไปผิวหนังและเยื่อบุของคนปกติจะสามารถป้องกันการบุกรุกของเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายแต่ถ้าเกิดบาดแผลหรือรอยถลอกหรือแทงเข็มผ่านไปก็จะทำให้เชื้อโรคเข้าไปเพิ่มจำนวนได้ ตัวอย่างเช่นโรคพิษสุนัขบ้า บาดทะยัก และหนองฝี เป็นต้น
4. ทางเพศสัมพันธ์ โรคที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ซึ่งมีมากมายหลายโรค เช่น หนองใน ซิฟิลิส หูดหงอนไก่ เริม และแผลริมอ่อน
5. ทางรกและช่องคลอด ถ้ามารดามีการติดเชื้อโรคบางอย่างขณะตั้งครรภ์ทำให้ทารกติดเชื้อ เกิดความพิการแต่กำเนิด แท้ง หรือตายตั้งแต่แรกคลอดเชื้อที่สำคัญได้แก่ ซิฟิลิส หัดเยอรมัน เป็นต้น
4.1 เฝ้าระวังสอบสวนโรค ประกอบด้วยคณะกรรมการควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล ฝ่ายพยาบาล ฝ่ายแพทย์
4.2 เตรียมพร้อมในการรองรับรับเหตุฉุกเฉิน เช่น ฉุกเฉินกรณีเกิดโรคระบาด ผู้ป่วยไข้เลือดออก อาหารเป็นพิษ วัณโรค อีสุกอีใส
4.3 ป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพที่จำเป็น เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรค เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรค เช่นการควบคุมโรคไข้เลือดออกในโรงพยาบาล มาตรการโรงพยาบาลปลอดลูกน้ำยุงลาย
4.4 มีช่องทางและบุคลากรที่สามารถรับรายงานผู้ป่วยหรือภาวะฉุกเฉินตลอด 24 ชั่วโมง
4.5 ดำเนินการสอบสวนผู้ป่วยเฉพาะราย เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคอย่างทันท่วงที
4.6 เมื่อมีการระบาดเกิดขึ้น ทีมผู้รับผิดชอบในการสอบสวนควบคุมโรคมีทรัพยากรและอำนาจในการสืบค้นและ ใช้มาตรการควบคุมที่เหมาะสมและทันกาล
4.7 การสอบสวนการระบาด เหตุการณ์ผิดปกติ การป่วยเป็นกลุ่มก้อน หรือพบแนวโน้มที่บ่งบอกว่าอาจมีการระบาด เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้างอย่างทันท่วงที
4.8 มีการแจ้งเตือนการเกิดโรคไปยังเจ้าหน้าที่ทุกฝ่าย ผู้ป่วย ผู้เข้ามาใช้บริการในโรงพยาบาลให้ทราบถึงบริเวณที่มีการระบาดของโรคหรือบริเวณเสี่ยง
5. กลไกการแพร่เชื้อและหลักการป้องกัน
การแพร่กระจายของเชื้อโรคติดต่อในโรงพยาบาลมีกลไกดังนี้
1. การสัมผัส (contact) 2. ทางอากาศ (air –borne) 3. ทางละอองเสมหะน้ำมูก/น้ำลาย (droplet )
1. การสัมผัส (contact) 2. ทางอากาศ (air –borne) 3. ทางละอองเสมหะน้ำมูก/น้ำลาย (droplet )
ตารางกลไกการแพร่กระจายเชื้อโรคติดต่อในโรงพยาบาล
โรค | การสัมผัส | ทางอากาศ | ทางละอองเสมหะน้ำมูก/น้ำลาย |
Chickenpox Tuberculosis | +- - | + + | + + |
6. การแยกผู้ป่วย
เพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อที่เกิดจาก บุคลที่เป็นโรคติดเชื้อ และสิ่งแวดล้อม คือ การตัดวิถีทางการแพร่กระจายเชื้อโดยเฉพาะวิธีการแยกผู้ป่วยถือเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพวิธีหนึ่ง
- ป้ายกำกับ: การป้องกันการระบาด, การป้องกันโรคติดต่อ
- (0) Comments
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น