วันจันทร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2554

เรื่อง : การป้องกันอุบัติเหตุขณะปฏิบัติงาน




1.            วัตถุประสงค์
1.1เพื่อสามารถปฏิบัติการป้องกันอุบัติเหตุจากการให้บริการ
1.2เพื่อสามารถปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมเมื่อเกิดอุบัติเหตุ
1.3เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อจากผู้ป่วยสู่บุคลากร
2.             ผู้ปฏิบัติ
2.1บุคลากรทุกระดับ
3.             เครื่องมือที่ใช้
ไม่มี
4.             วิธีการปฏิบัติ
4.1วิธีปฏิบิเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตจากการให้บริการ
4.1.1เลือกใชช้อุปกรณ์การป้องกันการติดเชื้ออย่างเหมาะสม
4.1.2ปฏิบัติตามแนวทางการป้องกันอุบัติเหตุจากของแหลมหรือของมีคมอย่างเคร่งครัดดังนี้


   การฉีดยาและการเจาะเลือด
-                   สวมถุงมือทุกครั้ง ห้ามสวมปลอกเข็มโดยมือจับปลอกเข็ม (Recap)หากมีความจำเป็นต้องสวมปลอกเข็ม ต้องใช้อุปกรณ์หรือเครื่องมือช่วยจับปลอกเข็มให้ตรึงกับที่ เพื่อสะดวกต่อการใส่เข็มเข้าในปลอกอย่างปลอดภัยไม่เปรอะเปื้อน และไม่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุ หากจำเป็น้องสวมปลอกเข็มให้ทิ้งเข็มที่ใช้แล้วลงในภาชนะที่เข็มไม่สามารถแทงทะลุได้แล้วเก็บรวบรวมเพื่อรอนำไปทำลายเชือต่อไป
การจัดการเข็มที่ใช้แล้ว
      -      เข็มที่ใช้แล่วให้ปลดออกทันทีด้วยวิธีปลอดภัยอาจจะใช้อุปกรณ์ช่วยปลดเข็ม
-เข็มชนิดใช้ครั้งเดี่ยวทิ้ง(Disposable needle)รวมทั้งScalpveinหรือเข็มที่ติดกับIV                                       Set ให้ปลดเข็มหรือ Scalp veinทิ้งในภานะที่เข็มไม่สามารถแทงทะลุได้
     การเย็บแผล
-        ไม่จับเข็มด้วยมือโดยตรงให้ใช้คีมจับเข็ม (Needle  Holder)  จับทุกครั้งระหว่างที่มีการใช้เข็มเย็บแผล  ขณะพักเข็มให้ซ่อนปลายเข็ม เพื่อป้องกันอุบัติเหตุเข็มตำนเองและผู้อื่น เช่น ใชคีมจับเข็ม บใกล้ปลายเข็มแล้ววางคว่ำลงไว้
-         เข็มเย็บแผลที่ใช้แล้ว ควรทิ้งในภาชนะที่จัดไว้เฉพาะ สำหรับทิ้งของมีคม
-         การเย็บแผลไม่ควรใช้นิ้วมือขางหนึ่งกดแผลไว้ แล้วเย็บผ่านระหว่างนิ้วมือ ควรใช้คีมคีบ (Forceps/Sponge Forceps) แทนใชนิ้วมือกด
    ของมีคมอื่นๆ เช่น ใบมีด กรรไกร เข็ม
-        ถอดใบมีดออกจากด้ามมีด โดยใช้คีมจับ (Clamp) ดึงมีดออก
-         ทิ้งใบมีดที่ใช้แล้ว ลงในภาชนะสำหรับทิ้งของมีคม
-         ห้ามส่งของมีคมจากมือคนหนึ่งไปสู่มืออีกคนหนึ่งโดยตรง ให้ส่งโดยใช้ภาชนะ เช่น ชามรูปไต หรือ Tray
-         ห้ามวางหรือหงายส่วนมีคมขึ้น หรือยื่นออกมากภาชนะรองรับ
     หลอดยา Ampule
-        หักหลอกยาโดยใช้สำลีสะอาดรองเพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากเศษแก้วทิ่มตำหรือบาดมือ
-         ทิ้งหลอดยาที่ใช้แล้วในภาชนะที่ไม่สามารถแทงทะลุได้ (แกลลอน ทิ้ง Amp. ยา)
    หลอดฮีมาโตคริด (Hematocrit Tube) ต้องทิ้งในภาชนะที่ทิ้งของมีคม และทำความสะอาดเครื่องปั่นฮีมาโตคริดที่เปื้อนคราบเลือด ห้ามทิ้งของมีคมหรือของแหลมลงในถังขยะหรือถุงขยะสีดำ
   การเก็บรวบรวมเครื่องมือเมื่อสื้นสุดการใช้ต้องเก็บรวบรวมด้วยความระมัดระวัง โดยใช้อุปกรณ์หยิบจับ แทนการใช้มือหยิบจับหรือรวมเครื่องมือเครื่องใช้ที่แล้ว
    การเก็บและรวบรวม Specimen ส่งตรวจ
-        ต้องสวมถุงมือทุกครั้งที่สัมผัสสิ่งส่งตรวจ ไม่ควรสัมผัสกับสิ่งส่งตรวจโดยตรง
-        ห้ามวางสิ่งส่งตรวจหรืออุปกรณที่ปนเปื้อนสิ่งส่งตรวจบนโต๊ะการพยาบาล ให้นำสิ่งส่งตรวจส่งห้องปฏิบัติการกลางทันที
หมายเหตุ
ในกรณีที่ไม่สามารถเก็บอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้แล้วได้ในทันที ให้จัดเก็บอุปกรณ์ดังกล่าวไว้ในสถานที่จัดเก็บอุปกรณ์ที่แล้ว ห้ามรวบเก็บอุปกรณ์ที่ใช้แล้วโดยเด็ดขาด เพราะอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุเข็ม/ขอมมีคมทิ่มตำได้ หลังจากเสร็จสิ้นภาระงาน จึงดำเนินการเก็บอุปกรณ์ส่งหน่วยจ่ายกลาง โดยใช้วิธีหยิบทีละชื้น
4.2       เมื่อเกิดอุบัติเหตุขณะปฏิบัติงาน ให้พิจารณาว่าเป็นอุบัติเหตุประเภทใด โดยแยกประเภท ดังนี้
4.2.1 อุบัติเหตุทั่วไป คือ อุบติเหตุที่ไม่สัมผัสสารคัดหลั่งจากร่างกายผู้ป่วย ซึ่งเกิดขึ้นขณะปฏิบัติงาน เช่น ลื่น ตก หกล้ม เกิดอุบัติเหตุขณะขับรถ  เป็นต้น ให้ปฏิบัติดังนี้
    เมื่อเกิดอุบัติเหตุให้รายงายผู้บังคับบัญชาตามระเบียบของโรงพยาบาล หรือผู้ตรวจการ เพื่อขอใบส่งตัว และส่งพบแพทย์ทำการรักษาตามอาการที่พบ
  กรณีจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยในให้ปฏิบัติตามกฎระเบียบของโรงพยาบาล
  เจ้าหน้าที่ผู้ไดรับอุบัติเหตุ ต้องเขียนแบบรายงานการได้รับอุบัติเหตุ ขณะปฏิบัติงาน(Injury Report) [FM-IC-002) และHospital Occurrence Report [FM-QA-011]/รายงานทาง Internet ส่งผู้ตรวจการเพื่อรวบรวมความเสี่ยงแล้วรายงานตามลำดับขั้นตอน
   ผู้จัดการความเสี่ยงจะสรุปรายงานเสนอผู้บริหาร และฝ่ายทรัพยากรบุคคล
4.2.2 อุบัติเหตุติดเชื้อ คือ อุบัติเหตุเมื่อถูกเลือดหรือสารคัดหลั่งของร่างกายผู้ป่วย เช่น ถูกเข็ม หรือของมีคมบาด หรือถูกเลือดหรือสารคัดหลั่งของผู้ป่วยกระเด็นเข้าปาก-ตา หรือบาดแผล ให้ปฏิบัติดังนี้
   การปฏิบัติทันทีภายหลังสัมผัสเลือดหรือสารคัดหลั่งจากผู้ป่วย
-            เมื่อถูกเข็มหรือของมีคมที่เปื้อนเลือดหรือสารคัดหลั่งของผู้ป่วยทิ่มตำหรือบาดที่ผิวหนังให้ชำระล้างบาดแผลด้วยน้ำหรือสบู่แล้วเช็ดบริเวรนั้นด้วย 70%  Alcohol หรือIodophorไม่ (ไม่บีบเค้นเลือด)
-        ถ้าเลือดหรือสารคัดหลั่งของผู้ป่วยกระเด็นถูกผิวหนังไม่ว่าจะมีบาดแผลหรือไม่ก็ตาม ให้ล้างบริเวรนั้นให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่ หากพบว่ามีบาดแผล อาจใช้ 70% Alcohol เช็ดหรือฝอกทำความสะอาดอีกครั้งด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ
-        ถ้าเลือดหรอสารคัดหลั่งของผู้ป่วยกระเด็นเข้าปาก ให้บ้วนน้ำลายออก แล้วล้างปากกลั้วคอด้วยน้ำสะอาดหลายๆครั้ง
-        ถ้าเลือดหรือสารคัดหลั่งของผู้ป่วยกระเด็นเข้าตาหรือสัมผัสเยื่อเมือกต่างให้ล้างด้วยน้ำสะอาดหลายๆครั้ง กรณีกระเด็นเข้าตาอาใช้น้ำยาล้างตาอีกครั้ง
   การดำเนินการต่อเนื่องภายหลังเกิดอุบัติเหตุให้ปฏิบัติดังนี้
-        รายงานแจ้งผู้ตรวจการทันทีแล้วรายงานามสายบังคับบัญชาตามระเบียบของโรงพยาบาลเพื่อขอใบส่งตัว
-        ส่งพบแพทย์ตามขั้นตอนระเบียบของโรงพยาบาล แพทย์ให้การรักษาตามแนวทางที่โรงพยาบาลกำหนดเท่านั้น
-            เขียนแบบรายงานได้รับอุบัติเหตุขณะปฏิบัติงาน (Injury  Report) [FM-IC-002] และ Hospital Occurrence  Report [FM-QA-011] ส่งหัวหน้าแผนก/ผู้ตรวจการ เพื่อรวบรวมส่งผั้ดการความเสี่ยง
-            ICN ติดตามผลการตรวจรักษา และรายงานกลับผู้จัดการความเสี่ยง
5.             บันทึกคุณภาพ
                ชื่อบันทึกคุณภาพ                                                                                ผู้รับผิดชอบ                                         ระยะเวลาจัดเก็บ
                4.1          Hospital Occurrence  Report [FM-QA-011] ศูนย์บริหารความเสี่ยง                                    1 ปี
                4.2          แบบรายงานการได้รับอุบัติเหตุขณะปฏิบัติงาน  ศูนย์ควบคุมโรติดเชื้อฯ                               2 ปี
                                [FM-IC-002]
6.             เอกสารอ้างอิง
                อะเคื้อ  อุณหเลขกะ. การป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:     บริษัทเจซีซี การพิมพ์ จำกัด

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น