วันอาทิตย์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2554
Central Venous Pressure Monitoring : การพยาบาลผู้ป่วยใส่สายวัดความดันของหลอดดำส่วนกลาง
การพยาบาลผู้ป่วยใส่สายวัดความดันของหลอดดำส่วนกลาง
CVP (Central Venous Pressure) หมายถึง ค่าความดันของหลอดเลือดดำส่วนกลาง โดยการใส่สายเข้าไปในหลอดเลือดดำใหญ่ บริเวณ Subclavian Vein, Internal jugular vein หรือ Brachial vein ตำแหน่งปลายสาย อยู่ที่หัวใจห้องบนขวา หรือเหนือหัวใจห้องบนขวา (Superior vena cava)
มาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยใส่สาย CVP ประกอบด้วย
มาตรฐานที่ 1 ผู้ป่วยและญาติเข้าใจ คลายความวิตกกังวลและยอมรับ
เกณฑ์การประเมินผล
1. ผู้ป่วยมีความพร้อมของสภาพร่างกายก่อนสาย CVP
2. ผู้ป่วยและญาติให้ความร่วมมือ
กิจกรรมพยาบาล
1. อธิบายให้ผู้ป่วยและญาติทราบเกี่ยวกับความเป็นจำเป็นในการใส่สาย CVP เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยซักถาม ให้ข้อมูลและอธิบายถึงสภาพความเจ็บป่วย ตามความเป็นจริงให้มากที่สุด
2. แนะนำวิธีการข้อปฏิบัติขณะใส่และระยะเวลาที่ใส่สาย CVP
3. ตรวจสอบสัญญาณชีพ ระดับความรู้สึกตัวและบันทึกไว้เป็นเกณฑ์มาตรฐาน
4. เตรียมบริเวณที่ใส่สายบริเวณหน้าอกหรือแขนทั้งสองข้างให้สะอาด
5. จัดให้ผู้ป่วยนอนหงาย ศรีษะต่ำ
มาตรฐานที่ 2 อุปกรณ์การใส่สาย CVP พร้อมใช้งาน
เกณฑ์การประเมินผล
1. เตรียมอุปกรณ์ด้ถูกต้อง พร้อมใช้งาน
กิจกรรมพยาบาล
กิจกรรมพยาบาล
1. เตรียมเครื่องเฝ้าระวังไฟฟ้าหัวใจ ชนิดมี Invasive Pressure (Monitor) พร้อมสาย Transducer ไม้วัดระดับ (ไม้ Zero)
2. ชุดเย็บแผล (Set Suture)
3. น้ำยา Batadine
4. 1 % หรือ 2 % Xylocain
5. ชามรูปไต
6. Three way 1-2 ตัว สารน้ำ, เลือด,ผลิตภัณฑ์ของเลือดและยาชนิดต่าง ๆ
7. สาย Feeding tube No 5-8 หรือสาย Cavafix No. 335 , 338 โดยการปรึกษากับแพทย์ผู้ใส่
8. เตรียมรถฉุกเฉิน และชุดใส่ท่อระบายทรวงอก
มาตรฐานที่ 3 ผู้ป่วยปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อน
- มีลมหรือเลือดในช่องอก (Pneumo-Hacmothrox)
- มีฟองอากาศในเลือด (Air Embolism)
- มีลิ่มเลือด (ฺBlood Clot)
- ้มีภาวะเลือดออก (Bleeding) บริเวณที่ใส่สาย
- ภาวะการติดเชื้อ (Infection)
เกณฑ์การประเมินผล
1. ไม่มีอาการเหนื่อยหอบ สัญญาณชีพปกติ
SBP 90 - 130 mmHg
DBP 60 - 70 mmHg
HR 60 - 100 ครั้ง/นาที
RR 16 - 24 ครั้ง/นาที
2. จากผล Chest X-ray ไม่มี Pneumothorax , Hemothorax
3. ไม่มีเลือดออกจากบริเวณที่ใส่สาย CVP
4. ค่า Hct มากกว่า 30 % PTT ไม่เกิน 1.5 เท่าของค่าควบคุม
5. ไม่มีลิ่มเลือด ฟองอากาศในสาย
6. อุณหภูมิ 36 -37 องศาเซลเซียส ไม่มีอาการของแผล
กิจกรรมการพยาบาล
1. สังเกตอาการเหนื่อยหอบ กระสับกระส่าย และบันทึกสัญญาณชีพขณะใส่และหลังใส่สาย ภายใน 2 ชม.
ถ้ามีอาการผิดปกติรายงานแพทย์ทราบ
ถ้ามีอาการผิดปกติรายงานแพทย์ทราบ
2. ติดตาม Chest X-ray หลังใส่สายว่ามี Pneumothorax , Hemothorax หรือไม่
3. เฝ้าระวังภาวะเลือดออกจากบริเวณที่ใส่สายทุก 1 ชม. จนปกติ หรือหลังจากนั้น 8 ชม.
3. เฝ้าระวังภาวะเลือดออกจากบริเวณที่ใส่สายทุก 1 ชม. จนปกติ หรือหลังจากนั้น 8 ชม.
4. ส่งตรวจและติดตามค่าความเข้มของเลือด (Hct) การแข็งตัวของเลือด (PTT) ถ้ายังมีภาวะเลือดออกมาก
5. สังเกตและประเมินอาการทางระบบประสาท (Neurological factor) และบันทึกอาการทุก 1 -2 ชม.
6. ระวังไม่ให้มีลิ่มเลือดหรือฟองอากาศเข้าไปในสาย
7. ทำแผลทุกวัน ถ้าปิดก๊อสปิดด้วย Tegaderm เปลี่ยนทุก 3 วัน หรือเมื่อสกปรก
8. ตรวจสอบและบันทึกอุณหภูมิทุก 4 ชม.
9. เปลี่ยน Three way และ Extension ทุก 3 วัน
10. สังเกตอาการบวมแดง ร้อน บริเวณรอบแผลที่ใส่สายรายงานแพทย์ทันทีเมื่อพบสิ่งผิดปกติ
11. ตรวจและติดตามผล CBC
12. เมื่อแพทย์พิจารณาให้เอาสายออกได้ โดยเตรียม Set ทำแผลใช้ Betadine Paint และตัดไหมที่เย็บระหว่างสายและผิวหนัง ดึงสายออกโดยใช้ผ้าก๊อสกดบริเวณแผลจนเลือดหยุดไหล สังเกตอาการบวม เลือดออก
มาตรฐานที่ 4 เพื่อให้การอ่านค่าความดันของหลอดเลือดดำส่วนกลางถูกต้อง
- ป้ายกำกับ: อุปกรณ์การใส่สาย CVP, CVP (Central Venous Pressure), Hemothorax, Pneumothorax
- (0) Comments
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น