วันอาทิตย์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2554

การประชุมแผนกผู้ป่วยหนักวิฤติ




ระเบียบวาระที่ 1 รับรองวาระการประชุม
        ไม่มี


ระเบียบวาระที่ 2 เรื่องแจ้งเพื่อทราบ
 เรื่องการลาออกจากการทำงาน จะต้องแจ้งให้ทางโรงพยาบาลและผู้บังคับบัญชาทราบก่อนล่วงหน้า 1 เดือน เพื่อไม่ให้เป็นการเสียประวัติแก่ตนเอง ในการที่จะไปสมัครงานหรือเริ่มงานใหม่

การรับ Order แพทย์   
       วิธีการรับ Order แพทย์    คือ ต้องมีลายเซ็นต์ของผู้รับ ระบุวันที่ และเวลาให้เรียบร้อย ด้วยปากกาสีแดง
-           การรับ Order แพทย์    ในกรณีมี Order Off ยา
กรณีมี Order Off ยา ให้เซ็นต์รับ Order ในหน้าที่แพทย์สั่ง Off ( หน้าปัจจุบัน) และให้ย้อนไปดู Order ก่อนหน้าด้วยว่าแพทย์ ขีดให้ Off ยาตัวนั้นด้วยหรือไม่ ถ้ามีก็ให้เซนต์รับ Order ด้วย 
แนวทางการเขียน Off ยาในใบ MAR คือ เขียนคำว่า Off /วันที่ Off/เวลาที่Off/ และชื่อ RN ผู้เขียน Off ให้ตรงกับช่องวันที่ในใบMAR  จากนั้นให้ไม้บรรทัดขีดลากยาว (*ถ้าเป็นยาฉีดให้เขียนกับปากกาสีแดง ถ้าเป็นยากินเขียนกับปากกาสีน้ำเงิน)
-          การรับ Order แพทย์    ในกรณีมีการ review treatment 
ยาบางอย่างที่มี Orderreview treatment  เหมือนกับ Order เดิม  ไม่ต้องเขียนในใบ MAR ใหม่
ยาบางอย่างที่มี Orderreview treatment  เหมือนกับ Order เดิม  แต่แตกต่างเฉพาะบางอย่าง เช่น ลด/เพิ่มจำนวน  หรือเปลี่ยนเวลาที่ให้ ไม่ต้องเขียนในใบ MAR ใหม่แต่ให้เขียนลงในยาเดิม ใบเดิม ว่า ลด/เพิ่มจำนวน  หรือเปลี่ยนเวลา  หรือเปลี่ยนไปจากเดิมอย่างไร
กรณี Orderreview treatment  ยา  ไม่เหมือนกับ Order เดิม  ต้องเขียนในใบ MAR ใหม่
ยา Stock ward
หากมีการใช้ไปก่อนแล้วให้เบิกคืนด้วย  ห้ามให้ยาStock ward แก่ใครทั้งนั้นไม่ว่ะเป็นเจ้าหน้าที่หรือญาติผู้ป่วยการ ให้ใช้ได้กับผู้ป่วยเท่านั้นและเบิกมาคืนให้เรียบร้อย *ยา Stock wardทุกตัวต้องมีเท่าเดิม*

การ KEY ค่าบริการต่างๆ
-          ค่าบริการต่างๆแม้ว่าจะเป็นชนิดเดียวกันราคาไม่เท่ากันขึ้นอยูกับว่าผู้ป่วยรายนั้นใช้สิทธิในการรักษาอะไร และสิทธิราคาอาจแตกต่างกัน ให้ไปดูในเอกสารค่าบริการสาธารณสุขอีกทีซึ่งเอกสารกำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินการยังไม่เรียบร้อย หากเรียบร้อยจะแจ้งให้ทราบภายหลัง เพื่อที่จะได้มีมาตรฐานไปในแนวทางเดียวกัน
-          ห้ามKey ค่าบริการต่างๆล่วงหน้า
แบบฟอร์มต่างๆที่ใช้ในแผนก
-          เอกสารต่างๆเน้นให้เขียนลงทุกช่องห้ามเว้นไว้เพราะอาจมีปัญหาในการรีวิว Chart ภายหลัง  ห้ามใช้ปากกาลบคำผิดลบโดยเด็ดขาด อาจจะมีปัญหาภายหลังกรณีญาติหรือผู้ป่วยมีการฟ้องร้องโรงพยาบาล
-          ในใบ ICU Record ให้ลง OK IV ให้เวรถัดไปด้วยว่าเหลือปริมาณเท่าไหร่
-          ในการรับAdmitted ผู้ป่วยแต่ละราย พยาบาลต้องมีการ assessment ผู้ป่วย ว่าผู้ป่วยรายนี้น่ามีปัญหาอะไรบ้างเพื่อที่จะได้เตรียมเอกสารหรือแบบฟอร์มนอกเหนือจากเอกสารชุด Admitted ให้ตรงกับสภาพปัญหาผู้ป่วย เช่นมีประวัติ DM อาจต้องเตรียม Diabetic sheet  , ผู้ป่วย Nero เตรียม Nero sheet, ผู้ป่วยมี Criteria ของการติดเชื้อ ใช้ใบSurveillance Form
-          กลุ่มโรคติดต่อที่ต้องรายงาน อยู่ใน Flow chart Kardex หากสงสัยว่าผู้ป่วยเป็นให้เขียนใบ รง. 506 ส่งเวชระเบียน และส่งต่อสาธารณสุขจังหวัดภายใน 24 ชั่วโมงเพื่อที่จะได้เฝ้าระวังติดตามต่อไป  ในใบ รง. 506 ให้กรอกที่อยู่ปัจจุบันของผู้ป่วยที่อยู่ปัจจุบันขณะป่วย เพื่อที่หน้าที่จะได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลได้ถูกต้อง
-          ใบรายงานจำนวนวันใส่อุปกรณ์ต่างๆ (device-day) อยู่ใน Flow chart Kardex ให้ In chart เวรบ่ายลงทุกวัน เวลา 24.00 น และส่ง IC ทุกเดือน
-          หากมีผู้ป่วยที่ On Ventilator ให้ใช้แบบฟอร์ม Ventilatorrecord
-          ถ้าผู้ป่วยไปผ่าตัดให้ใช้แบบ Surgical Site Infection Surveillance Form กรอกข้อมูลลงไปในส่วนของ ward ให้ครบ แล้วใส่ไปกับchartไปห้องผ่าตัด ทางห้องผ่าตัดจะกรอกข้อมูลส่วนที่เป็นของห้องผ่าตัดเอง (*เค้าจะกรอกหรือไม่ก็แล้วแต่แต่เราต้องกรอกส่วนของเราให้ครบ*)
-          ผู้ป่วยใส่สายสวนปัสสาวะ ให้ใส่ใบ การดูแลผู้ป่วยที่ใส่สายสวนปัสสาวะ ไว้หน้าใบ Neuro sheet หรือใบ ICU Record
-          ถ้ามีการให้เลือดแก่ผู้ป่วย ให้ลงในใบบันทึกตรวจสอบก่อนให้เลือดและส่วนประกอบของเลือด ลงตรวจสอบทั้งในช่องข้อมูลผู้ป่วย และช่องถุงเลือดและใบคล้องเลือดว่าข้อูลตรงกันหรือไม่ หลังตรวจสอบแล้วให้ Double check ด้วย RN อีกคน รวมเป็นRN 2 คนที่จะตรวจสอบข้อมูลและให้ลงบันทึกทั้ง 2 คน
งานIC
ให้บุคลากรในแผนกไปศึกษาเอกสารงาน IC ได้ในแฟ้มเอกสาร IC ซึ่งจะมีเอกสารใหม่มา Update เรื่อยๆ ตอนนี้จะมีเรื่องดังต่อไปนี้ที่มีเอกสารอยู่ในแฟ้ม IC
-          ใบคัดกรองผู้ป่วย เป็นใบที่ซักประวัติผู้ป่วยที่ห้องคัดกรองที่ OPD ใช้กับผู้ป่วยที่สงสัยว่าเป็นโรคติดต่อที่สามารถแพร่กระจายเชื้อไปสู่ผู้อื่น โดยจะแยกผู้ป่วยในห้องคัดกรองเท่านั้น และสวมmask ป้องกัน ขั้นตอนการให้บริการผู้ป่วยทุกอย่างจะทำที่ห้องคัดกรองเท่านั้น โดยผู้ป่วยไม่ต้องออกไปดำเนินการเอง จะมีทีมสหวิชาชีพมาให้บริการ ณ ห้องคัดกรองเอง (รายละเอียดเพิ่มเติมอ่านได้จากแฟ้ม IC)
-          แนวทางเฝ้าระวัง สอบสวนและรายงานโรคกรณีสงสัยติดเชื้อ enterovirusที่มีอาการรุนแรง และการระบาดของโรคมือ เท้า ปาก (รายละเอียดเพิ่มเติมอ่านได้จากแฟ้ม IC)
-          แบบส่งตัวอย่างตรวจวินิฉัยโรค Viral Myocarditis/Pericarditis/Meninggitis/Encephalitis/ Hand Foot Mouth Disease (รายละเอียดเพิ่มเติมอ่านได้จากแฟ้ม IC)
-          แนวทางการปฏิบัติเรื่องการให้บริการผู้ป่วย Hand Foot Mouth Disease (รายละเอียดเพิ่มเติมอ่านได้จากแฟ้ม IC)
-          การป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนล่างเอง (รายละเอียดเพิ่มเติมอ่านได้จากแฟ้ม IC)
-          การป้องกันการติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะในผู้ป่วยที่คาสายสวนปัสสาวะ (รายละเอียดเพิ่มเติมอ่านได้จากแฟ้ม IC)
-          การป้องกันการติดเชื้อในกระแสโลหิตในผู้ป่วยที่ใส่สายสวนหลอดเลือด (รายละเอียดเพิ่มเติมอ่านได้จากแฟ้ม IC)
-          การป้องกันการติดเชื้อในกระแสโลหิตจากการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย(Phlebitis) (รายละเอียดเพิ่มเติมอ่านได้จากแฟ้ม IC)
-          การใช้น้ำยาฆ่าเชื้อ( antiseptic) (รายละเอียดเพิ่มเติมอ่านได้จากแฟ้ม IC)
-          การล้างมือ (รายละเอียดเพิ่มเติมอ่านได้จากแฟ้ม IC)
เอกสารคุณภาพ
ให้บุคลากรในแผนกไปศึกษาเอกสารงานคุณภาพได้ในแฟ้มเอกสารงานคุณภาพซึ่งจะมีเอกสารใหม่มา Update เรื่อยๆ ตอนนี้จะมีเรื่องดังต่อไปนี้ที่มีเอกสารอยู่ในแฟ้มเอกสารงานคุณภาพ
-          วิสัยทัศน์/พันธกิจ/เป้าหมาย/ค่านิยมของบุคลากรในโรงพยาบาล/นโยบายคุณภาพของโรงพยาบาล (รายละเอียดเพิ่มเติมอ่านได้จากแฟ้มเอกสารงานคุณภาพ)
-          Service profile ของแผนก(รายละเอียดเพิ่มเติมอ่านได้จากแฟ้มเอกสารงานคุณภาพ)
-          การให้บริการผู้ป่วยหนัก(รายละเอียดเพิ่มเติมอ่านได้จากแฟ้มเอกสารงานคุณภาพ)
-          การช่วยแพทย์ใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจชนิดชั่วคราว (temporary pacemaker) (รายละเอียดเพิ่มเติมอ่านได้จากแฟ้มเอกสารงานคุณภาพ)
-          การช่วยแพทย์ใส่ swan ganz(รายละเอียดเพิ่มเติมอ่านได้จากแฟ้มเอกสารงานคุณภาพ)
-          การดำเนินการรับผู้ป่วยใหม่(รายละเอียดเพิ่มเติมอ่านได้จากแฟ้มเอกสารงานคุณภาพ)
-          การดำเนินการติดต่อแพทย์(รายละเอียดเพิ่มเติมอ่านได้จากแฟ้มเอกสารงานคุณภาพ)
-          การรับคำสั่งแพทย์(รายละเอียดเพิ่มเติมอ่านได้จากแฟ้มเอกสารงานคุณภาพ)
-          การเบิก-คืนยา(รายละเอียดเพิ่มเติมอ่านได้จากแฟ้มเอกสารงานคุณภาพ)
-          การให้บริการผู้ป่วยก่อน-หลังผ่าตัด(รายละเอียดเพิ่มเติมอ่านได้จากแฟ้มเอกสารงานคุณภาพ)
-          การเบิกอาหารผู้ป่วย(รายละเอียดเพิ่มเติมอ่านได้จากแฟ้มเอกสารงานคุณภาพ)
-          การตรวจหาเชื้อ HIV และการจัดเก็บผลตรวจ(รายละเอียดเพิ่มเติมอ่านได้จากแฟ้มเอกสารงานคุณภาพ)
-          การดำเนินการกรณีผู้ป่วยปฎิเสธการรักษา(รายละเอียดเพิ่มเติมอ่านได้จากแฟ้มเอกสารงานคุณภาพ)
-          การดำเนินการกรณีผู้ป่วยขอย้ายโรงพยาบาล(รายละเอียดเพิ่มเติมอ่านได้จากแฟ้มเอกสารงานคุณภาพ)
-          การดำเนินการเมื่อมีเหตุการณ์ผิดปกติในหอผู้ป่วย(รายละเอียดเพิ่มเติมอ่านได้จากแฟ้มเอกสารงานคุณภาพ)
-          การดำเนินการย้ายผู้ป่วยระหว่างแผนก(รายละเอียดเพิ่มเติมอ่านได้จากแฟ้มเอกสารงานคุณภาพ)
-          การจำหน่ายผู้ป่วย(รายละเอียดเพิ่มเติมอ่านได้จากแฟ้มเอกสารงานคุณภาพ)
-          การรายงานการรับ-ส่งเวร(รายละเอียดเพิ่มเติมอ่านได้จากแฟ้มเอกสารงานคุณภาพ)
-          การทำความสะอาดเครื่องมือเครื่องใช้ก่อนทำให้ปราศจากเชื้อ(รายละเอียดเพิ่มเติมอ่านได้จากแฟ้มเอกสารงานคุณภาพ)
-          วิธีปฏิบัติเพื่อป้องกันผู้ป่วยแพ้ยาและอันตรายจากการแพ้ยา(รายละเอียดเพิ่มเติมอ่านได้จากแฟ้มเอกสารงานคุณภาพ)
-          การดำเนินการรับผู้ป่วยสังเกตอาการ(รายละเอียดเพิ่มเติมอ่านได้จากแฟ้มเอกสารงานคุณภาพ)
-          การดำเนินการผู้ป่วยเสียชีวิต(รายละเอียดเพิ่มเติมอ่านได้จากแฟ้มเอกสารงานคุณภาพ)
-          การมอบหมายงาน(รายละเอียดเพิ่มเติมอ่านได้จากแฟ้มเอกสารงานคุณภาพ)
-          กรณีระบบการทำงานคอมพิวเอร์ขัดข้อง(รายละเอียดเพิ่มเติมอ่านได้จากแฟ้มเอกสารงานคุณภาพ)
-          การทำ code CPR(รายละเอียดเพิ่มเติมอ่านได้จากแฟ้มเอกสารงานคุณภาพ)
-          วิธีการปฎิบัติ CPR(รายละเอียดเพิ่มเติมอ่านได้จากแฟ้มเอกสารงานคุณภาพ)

การแลกเวร
หากมีการแลกเวรให้คุยกับ Inchageแลกเวรกันแล้วให้มีการใช้เวรภายในเดือนนั้นเลย
หรือให้ยกเวรนั้นคิดเป็นของผู้รับเวรไปเลย

การพยาบาลผู้ป่วย
-          สายพ่นยาสามาถใช้อันเดิมได้ ส่วนกระเปาะพ่นยาและหน้ากากให้นำไปล้างแล้วนำมาเก็บไว้ที่เดิม
-          การล้างสาย Suction ให้ใช้น้ำธรรมดาล้างสาย Suction
-          หัว connecter  Suctionให้ตัดซอง Suction สวมไว้หลังSuction
-          การเปิดหลอดเลือดดำเพื่อให้สารน้ำ ให้ใช้ tegaderum ปิด
-          เจาะเลือดเสร็จให้ใช้สำลีแห้งปิด ห้ามเปิดGauze ปิด เพราะทำให้สิ้นเปลือง และGauze ส่วนที่เหลือก็อาจะมีการ Contaminated ได้
-          ผู้ป่วยที่ On HL ให้ใช้ NSS ชนิด Ampuเล็ก 5 CC ห้ามเปิดขวด 100 CC
-          การเติมน้ำในกระป๋องออกซิเจนให้ใช้ SW ขวด 100 CC เท่านั้น
-          แพทย์ท่านไหนที่สั่ง Admitted ผู้ป่วยให้ถือว่าแพทย์ท่านนั้นเป็นเจ้าของ Case
-          กรณีมีผู้ป่วยติดเชื้อที่มีการแพร่กระจายเชื้อมา Admitted ให้แจ้งกับทีมสหวิชาชีพด้วย เช่น โภชนากร ฝ่ายรังสีหากมีการมา CXR เจ้าหน้าที่กายภาพบำบัด
-          ไม่อนุญาตให้ญาติผู้ป่วยนอนพักที่ห้องรอญาติของแผนกไตเทียม
-          Case ฝาก recovery ห้ามใช้ red dot ของแผนก ให้วัดสัญญาณชีพด้วยแบบธรรมดา ยกเว้น case นั้นมีอาการที่ severe จริงๆแต่ถ้ามี red dot จาก OR แล้วก็ monitorได้
-          มีการเบิกชุดกิโมโนมาใช้กับผู้ป่วยแล้ว
-          ผ้าพลิกตะแคงตัวผู้ป่วยให้ใช้ผ้าถุง
-          ผ้าที่ไม่ใช้ห้ามนำมาวางในห้องผู้ป่วย
-          ให้ช่วยกันดูแล unit care ในห้องผู้ป่วย
-          ขณะนี้อนุญาตให้ใช้ผ้าเช็ดมือได้เนื่องจากกระดาษทิชชูแผ่นใหญ่หมด
-          อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้กับผู้ป่วยบางอย่างให้เขียนลงในกระดาษก่อน หาข้อสรุปได้แล้วจะแจ้งมาภายหลัง

ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องสืบเนื่อง    ไม่มี
ระเบียบวาระที่ 4 เรื่องประเด็นปัญหา
ปัญหาที่มักจะพบบ่อยๆในแผนก
-          การติดต่อ เจ้าหน้าที่ IT ในเวรบ่ายดึก ติดต่อไม่สะดวก เนื่องจากเจ้าหน้าITที่ไม่รับโทรศัพท์เพราะไม่ได้นั่งประจำที่แผนกตนเองแต่จะ ไปอยู่แผนกอื่น และเมื่อมีการต่อมือถือ ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่กลับไปอยู่นอกโรงพยาบาล ทำให้มาถึงแผนกก็ใช้เวลานานกว่าปกติ
-          การทิ้งขยะยังทิ้งกันผิดอยู่ โดยการทิ้งที่ถูกต้องคือสิ่งที่สัมผัสกับสารคัดหลั่งผู้ป่วยให้ทิ้งถังแดงเท่านั้น
-          อุปกรณ์บางอย่างที่จำเป็นต้องใช้เขียนเบิกไปแล้วก็ไม่มี หรือยังไม่ได้ เช่น ไฟฉาย, ไม้กดลิ้นสแตนเลส, เอี๊ยมพลาสติกสวมเวลาอาบน้ำผู้ป่วย, Fixzomuเป็นต้น
เรื่องเสนอแนะ    
-          ควรแยกถังเพื่อทิ้งขยะเคมี
-          ควรแยกถังเพื่อทิ้งขวดแก้วยาผสมและยา Dripที่เป็นขวดแก้ว
-              IT ควรมีตารางเวรแจ้งให้ Ward ทราบด้วย
-              เวลาโทรตาม IT ให้ถามด้วยว่าใครเป็นผู้รับสาย เพื่อที่ว่าหากมีการลง record จะได้ระบุคนให้  ถูกต้อง
-             ตู้ผ้าผู้ป่วยอยู่ไกลเกินไปควรย้ายมาใกล้ๆ



0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น