วันเสาร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2554

Central Venous Pressure Monitoring : การพยาบาล



การพยาบาลขณะใส่สาย


1.  จับแขนผู้ป่วยหรืออาจต้องจับมัดไว้ในรายที่ไม่ให้ความร่วมมือ

     2.  ผู้ป่วยอาจรู้สึกไม่สุขสบาย  เจ็บ  พยาบาลต้องคอยให้กำลังใจและอยู่เป็นเพื่อนผู้ป่วยตลอดเวลา

     3.  จดบันทึกตำแหน่งการใส่สาย  ความยาวของสายภายหลังการใส่สายเรียบร้อยแล้ว

     4.  สังเกตอาการเปลี่ยนแปลงและบันทึกสัญญาณชีพเป็นระยะ  ตลอดจนสังเกตุภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น

การพยาบาลผู้ป่วยหลังใส่สาย

     1.  จัดสภาพผู้ป่วยให้นอนพักในท่าที่สบาย

     2.  บันทึกสัญญาณชีพทุก  1  ชั่วโมง  จนอาการคงที่และสังเกตอาการเหนื่อยหอบหายใจเร็วขึ้น  กระสับกระส่าย O2  sat  ลดลง  แน่นหน้าอกหรืออาการผิดปกติอื่น ๆ ถ้ามีอาการผิดปกติต้องรายงานแพทย์ทราบ

     3.  ติดตามผล chest X-ray และรายงานแพทย์  เพื่อดูว่าหลังใส่สายมี Pneumo/Haemo thorax หรือไม่

     4.  เฝ้าระวังภาวะเลือดออกจากบริเวณที่ใส่สายทุก  1 ชั่วโมงจนปกติหลังจากนั้นทุก 8 ชั่วโมง

     5.  ส่งตรวจและติดตามค่าความเข้มของเลือด (Hct)  การแข็งตัวของเลือด (PTT)  ถ้าพบภาวะเลือดออกมาก

     6.  สังเกตและประเมินอาการทางระบบประสาท  และบันทึกอาการทุก 1 - 2 ชั่วโมง

     7.  ระมัดระวังไม่ให้ลิ่มเลือดหรือฟองอากาศเข้าไปในสาย  ระมัดระวังการหักพับงอ  การเลื่อนหลุด  การอุดตันของสายและข้อต่อต่าง ๆ

     8.  ทำแผลทุกวันหรือสกปรกด้วยเทคนิคปราศจากเชื้อ  ตลอดจนสังเกตลักษณะอาการบวม  แดง  ร้อน  บริเวณที่ใส่สาย  รายงานให้แพทย์ทราบถ้าพบอาการผิดปกติ  และดูแลเปลี่ยน 3 way extention tube ทุก  3 วัน

     9.  การตรวจสอบตำแหน่งสายทุกครั้งที่ให้ยา  ทำแผล  หรืออย่างน้อยทุก  4  ชั่วโมง

    10. ในรายที่ต้องวัดความดันหลอดเลือดดำ  ต้อง Zero point ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนระดับ (Fhlebostatic axis)  Calibrate  เครื่องและ Balance Transducer ทุก ชั่วโมงหรือทุกครั้งที่สงสัยว่าค่าที่อ่านไม่ถูกต้อง

     11. ขณะวัดความดันหลอดเลือดดำ  ไม่ควรใช้เวลานานเฉพาะผู้ป่วยที่ได้รับยาเพิ่มความดันหลายตัว  หรือให้ยาขนาดสูง เพราะจะทำให้ผู้ป่วยขาดยา

     12. อ่านค่าความดันของหลอดเลือดดำ  และบันทึกไว้ตามแผนการรักษาตลอดจนสังเกต CVP wave from หรือการขึ้นลงของน้ำ  ถ้าอ่านค่าความดันผิดปกติหรือ wave form ต่างไปจากเดิม  ควรใช้ Syringe ดูดว่ามีเลือดออกมาหรือไม่  ถ้าดูดเลือดไม่ออกหรือค่าความดันผิดปกติให้รายงานแพทย์ทราบ

     13. ให้สารน้ำ  เลือด  ผลิตภัณฑ์ของเลือดหรือยาตามแผนการรักษา

การพยาบาลขณะเอาสายออก

     1.  จัดผู้ป่วยให้นอนในท่าที่สุขสบาย

     2.  เมื่อเอาสายออกแล้วกดห้ามเลือด  จนแน่ใจว่าเลือดหยุดไหล  จึงปิดแผลด้วย sterile gauze ให้เรียบร้อย

     3.  ทำแผลทุกวันด้วยเทคนิคปราศจากเชื้อ  จากแผลปิดสนิทดี

     4.  ขณะทำแผลสังเกตการติดเชื้อบริเวณบาดแผล

ภาวะแทรกซ้อนจากการใส่สาย

     1.  มีลมหรือเลือดในช่องอก  (Pneumo-Haemothorax)

     2.  มีฟองอากาศในเลือด  (Air embolism)

     3.  มีลิ่มเลือด  (Blood clot)

     4.  มีภาวะเลือดออก (Bleeding)  บริเวณที่ใส่สาย

     5.  ภาวะติดเชื้อ  (Infection)  ทั้งที่บาดแผลและในกระแสเลือด


0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น